ภาษาอีสานกำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง มีผู้สนใจข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์และประโยคตัวอย่างภาษาอีสานเป็นจำนวนมาก ทีมงานอีสานร้อยแปดได้รับข้อความสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก ตอบกับแทบไม่หวาดไม่ไหว โดยเฉพาะทางเฟสบุ๊กแฟนเพจของเรา เราจึงได้รวบรวมข้อมูลคำศัพท์ภาษาอีสานยอดฮิตประจำเดือนนี้มาฝากกันเช่นเคย เรามาดูกันเลยครับว่าจะมีคำศัพท์ไหนที่ได้รับความนิยม มีคำศัพท์ที่เราสนใจบ้างหรือป่าว
ถ้าหากว่าไม่มีคำศัพท์ที่เพื่อนๆมองหาอยู่ ก็สามารถสอบถามโดยการตั้งกระทู้สอบถาม หรือ ลองค้นหาคำศัพท์ภาษาอีสานในฐานข้อมูลของเราครับ
ไปดูกันเลยว่าเดือนนี้มีคำศัพท์ไหนบ้างที่ได้รับความสนใจ
- “หลอย”
แปลว่า : แอบฉวยเอาไป เช่น ขโมยลอบลักเอาเสื้อผ้าหรือเงินทองในเมื่อเจ้าของเผลอ เรียก หลอยเอา. - “ซอยแน”
แปลว่า : ช่วยด้วย - “ฮ่าง”
แปลว่า : พัง ชำรุด เสียหาย - “เวียก”
แปลว่า : การงาน ธุระ หน้าที่ ภาระ กิจการที่ต้องทำทุกอย่าง - “มีแฮง”
แปลว่า : สดชื่น, กระปรี้กระเปร่า, รู้สึกดี - “คิง”
แปลว่า : ร่างกาย, ตัว, ลำตัว - “ย่าง”
แปลว่า : เดิน - “ฮวก”
แปลว่า : ลูกกบหรือลูกเขียดตัวเล็กๆ มีหางเรียก ฮวก ลูกกบเรียก ฮวกกบ ลูกเขียดเรียก ฮวกเขียด อย่างว่า ฝนชิลาฟ้าปูปลาชิลาบวก ฮวกชิลาแม่น้ำนางน้อยค่อยอยู่ดี (ผาแดง). - “หน้าแบ้”
แปลว่า : หน้าตาตลก หน้าเหมือนแบ้ (แพะ) หน้าตาไม่ดี ไม่น่ามอง ไม่มีจุดเด่น อัปลักษณ์ ก็ว่า
- “ข้าวดอ”
แปลว่า : เป็นข้าวสายพันธ์หนึ่ง อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าข้าวเหนียว - “ก่ำก่า”
แปลว่า : ก่ำก่า หมายถึง ทำอะไรเป็นได้แค่พอทำได้ ไม่ชำนาญ หรือรู้แบบงู ๆ ปลา - “บ่หัวซา”
แปลว่า : ไม่ถือสา, ไม่ใส่ใจ
- “เบิ๊ด”
แปลว่า : หมด - “ปึก”
แปลว่า : โง่,เรียนไม่เก่ง - “มื้ออื่น”
แปลว่า : พรุ่งนี้ - “พอกำกา”
แปลว่า : ไม่มากไม่น้อย,ครึ่งๆกลางๆ,50:50 - “หมุ่นอุ้ยปุ้ย”
แปลว่า : แหลกไม่มีชิ้นดี/เหลวแหลก/แหลกลาน - “เด้อ”
แปลว่า : นะ - “ป่วง”
แปลว่า : เสียสติ อย่างว่า คึดลูกเจ้าติ่วสร้อยเป็นบ้าป่วงวิน (กา) พ่องฟั่งฟ้าวเชิญแม่เมืองหลวง ขวัญหากปันเป็งจาลจ่องเนาแนนน้อง แดนแต่ฮามนงหน้าหายสีฉันป่วย ว่าไข้คีงบ่ฮ้อนกระบวนกลั้นป่วงเสนท์ นั้นแล้ว (สังข์).
- “ผู้ฮ้าย”
แปลว่า : ขี้เหร่, ไม่สวย, ไม่หล่อ, หน้าตาไม่ดี - “พอกะเทิน”
แปลว่า : ไม่มากไม่น้อย ครึ่งๆกลางๆ - “จือ”
แปลว่า : จำ,เข็ด จำไว้ในใจเรียก จื่อ อย่างว่า คำหลักไว้โดยเดิมคดีโลก มิคาว่าอาวบ่ฮู้ฮมแจ้งจื่อลาง นั้นรือ (สังข์). - “ก่องจ่อง”
แปลว่า : กริยา การกระทำที่ดูแล้วไม่เข้าท่า หรือว่ายังไม่ชำนาญ อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า. - “อุกอั่ง”
แปลว่า : กลุ้มใจ คับแค้นใจ อย่างว่า แสนจักอุกอั่งแค้น แคลนโอ้ป่วงละเมอ (กา) สังมาทุกข์ยากฮ้อนสะออนอั่งทังอุก (ผาแดง) ฝูงอยู่ล้อมระวังตื่นตกใจ เยียวว่าผีสางสังซูดเบียนบาท้าว ภูมีได้สัญญายังเที่ยง อุกอั่งแค้นทวงสะอื้นอ่าวเถิง (สังข์). - “พ้อ”
แปลว่า : พบ - “บักจีเหลิน”
แปลว่า : ชื่อเรียกเด็กฮาๆของคนภาคอีสาน คล้ายๆกับใช้เรียกเด็กกะโปโล เด็กบ้านๆ นอกจากบักจีเหลิน ยังมีชื่อฮาๆอื่นๆ เช่น บักหำแหล่ อีหวึ่ง เป็นต้น - “เบิดคำสิเว้า”
แปลว่า : ไม่มีอะไรจะพูด ,หมดคำจะพูด ,พูดไม่ออก - “เซา”
แปลว่า : หยุด พัก พักเหนื่อย เลิก ระงับ เรียก เซาแคลน หรือ เซามีแฮง ก็ว่า อย่างว่า บาเถิงแล้วเซาแคลนคราวหนึ่ง หลิงดูโทดโทดน้ำตีเต้นฟาดฟอง (สังข์) หยุดชั่วคราว เรียก เซายั้ง พักให้เย็นสบายเรียก เซาฮ้อน หยุดพักม้าเรียก เซาม้า. - “ก่น”
แปลว่า : เจาะ, ขุด ใช้เสียมขุดดินให้เป็นหลุม หรือเป็นบ่อ