มาแล้วเด้อ มาแล้วเด้อ มาเอาแนวมันไปไว้ มาเอาในมันไปหว่าน มาเอาแนวคนขี้คร้าน ไปไว้ถ่าตื่นสวยครับพี่น้อง ภาษาอีสานยอดฮิต ตอนที่ 3 มาฮอดแล้ว เฮาได้รวบรวมคำศัพท์ยอดฮิตประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่มีผู้ค้นนิยมเข้ามาเบิ่งหลาย จนติดอันดับคำยอดฮิต เดือนนี้จะมีคำศัพท์ไหนเด็ดๆบ้าง หรือว่าเพื่อนๆสงสัยคำไหน สามารถคอมเม้นบอกแอดมินได้เด้อ ว่าแล้วก็ไปดูกันเลยว่าเดือนนี้จะมีคำศัพท์อะไรบ้าง
- “ฮัก”
แปลว่า : รัก มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว - “จัก (ไม่รู้)”
แปลว่า : ไม่รู้จัก - “ม่วน”
แปลว่า : สนุก - “จ๊วดจ๊าด”
แปลว่า : มันส์ ,ซู่ซ่า, สนุกสุดๆ ,สุดเหวี่ยง , ที่สุดของที่สุด เป็นต้น เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากธรรมชาติ สามารถใช้ได้หลากหลายเหตุการณ์ขึ้นอยู่กับบริบท - “มื้อ”
แปลว่า : วัน - “อีเกิ้ง”
แปลว่า : ดวงจันทร์ - “ซิกงิก”
แปลว่า : อาการงอลเชิดหน้าหนี ประมาณว่า “ชิ๊” , “เชอะ” - “ซิ๊กงิ๊ก”
แปลว่า : ชิ,เชอะ,อาการงอล - “ติงคิง”
แปลว่า : ขยับตัว
- “ย้อน”
แปลว่า : (สันธาน) เพราะ เหตุ อย่างว่า (กริยา) การขยับตัวขี้นและลงตามจังหวะดนตรี - “ขิว”
แปลว่า : หมั่นไส้,กลิ่นเหม็นไหม้ที่มีกลิ่นฉุนหรือเหม็นสาบ , เหม็นเขียว - “สำมะแจ๋”
แปลว่า : ลักษณะการพูดมากและไม่เป็นความจริง - “ซือๆ”
แปลว่า : เฉยๆ - “เซิง”
แปลว่า : การสมสู่อยู่ร่วมของคน โดยไม่เลือกกาล ไม่เลือกสถานที่ ไม่เลือกว่าเป็นพ่อแม่หรือลูก สมสู่แบบสัตว์ การสมสู่แบบนี้โบราณเรียก เซิง. - “คันแข่ว”
แปลว่า : หมั่นไส้, หมั่นเขี้ยว, หงุดหงิดเนื่องจากทำอะไรไม่ได้อย่างที่คิด - “เจ็บคิง”
แปลว่า : ปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย - “จักแหล่ว”
แปลว่า : ไม่รู้สิ - “ซอมเบิ่ง”
แปลว่า : แอบดู ,เฝ้ามอง - “ข่อย”
แปลว่า : ฉัน , ผม , ดิฉัน , กระผม - “เปิดอาดหลาด”
แปลว่า : เตลิด,หนีเตลิด,หนีแบบหางจุกตูด - “โพด”
แปลว่า : เลย เกิน กินเกินเรียก กินโพด นอนเกินเรียก นอนโพด พูดเกินเรียก เว้าโพด ทำอาหารใส่เกลือเกินเรียก โพดเกลือ ใส่ปลาร้าเกินเรียก โพดปลาแดก อย่างว่า เถ้าแถลงพ้นโพดความ (สังข์) ชื่อว่าผิดโพดพ้นนักขิ่นขอวอนไว้ก่อน ตางดูใจใช่อันดีฮ้าย ฟังกลอนอั้วอามคายขานขอบ เฮาพี่น้องทังค้ายคู่คน (ฮุ่ง). - “โผด”
แปลว่า : ละ ทิ้ง ละหรือทิ้งเรียก โผด อย่างว่า พี่โผดแล้วไลเจ้าบ่เอา น้องเอย (เวส-กลอน). - “อ้าย”
แปลว่า : พี่ชาย - “งิกงิก”
แปลว่า : อาการผงกศรีษะของกิ้งก่าตัวเล้กๆ เรียก ตอดเงางิกงิก ถ้าตัวใหญ่เรียกตอดเงางึกงึก งึกงึกงักงัก ก็ว่า. - “แซบ”
แปลว่า : อร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ - “ฮาก”
แปลว่า : 1.)ราก อาเจียน อาหารที่กลืนลงไปแล้วอาเจียนออกมาทางปาก เรียก ฮาก เช่น ฮากเข้า ฮากน้ำ ฮากขี้เพี้ย ฮากขี้โพ่น. 2.)ส่วนของต้นไม้ที่หยั่งลงไปในพื้นดิน เพื่อดูดเอาอาหารมาเลี้ยงลำต้น เรียก ฮากไม้ คนที่เป็นดุจรากไม้ดูดเอาอาหารมาเลี้ยงประเทศชาติให้เจริญ เรียก ฮากคน. - “บักหำน้อย”
แปลว่า : เด็กผู้ชาย - “มอง”
แปลว่า : กระเทยคนหรือสัตว์ที่ไม่ปรากฏเพศชัดเจนว่าเป็นชายหรือหญิง เรียก มอง. - “ค้ำคูณ”
แปลว่า : ดี, เป็นมงคล, ศิริมงคล, เจริญก้าวหน้า - “จักเทื่อ”
แปลว่า : สักครั้ง
เดือนหน้าเป็นคำศัพท์ภาษาอีสานยอดฮิตประจำเดือนธันวาคม ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ช่วงนี้กะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย จนงงไปหมดแล้วว่าเป็นฤดูไหนกันแน่ กะขอให้พี่น้องรักษาสุขภาพ เบิ่งแงงดูแลเจ้าของแหน่เด้อ พ้อกันใหม่เดือนหน้าครับ เดี๋ยวแอดมินจะเอาคำศัพท์ภาษาอีสานมาสรุปให้ฟังเช่นเคย
ดูความคิดเห็น
เเปลคำว่า ฮัก เเพง (เเพง)
มีสาระอิหลี✨?
บ่ใส่อีเมลได้บ่แอดมิน
เบิ่งแงง กับ เบิ่งแยง แม่นคำเดียวกันบ่แอดมิน