หลังจากที่เฮาเปิดตัวพจนานุกรมภาษาอีสานด้วยธีมใหม่ โหลดไว แล้วรองรับหน้าจอมือถือได้ดีกว่าเดิม แล้วยังมีฟีเจอร์ใหม่ๆเพิ่มมาให้ใช้งาน เพื่อให้ค้นหาภาษาอีสานจากฐานข้อมูลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อยากเรียนรู้ภาษาอีสานคำไหนก็สามารถค้นหาได้ทันที และได้รับการตอบรับที่ดีมากๆจากเพื่อนๆที่เข้ามาใช้งาน ทีมงานอีสานร้อยแปดก็ต้องขอขอบพระคุณอีกครั้ง ทุกๆคอมเม้น ทุกๆความคิดเห็น คือกำลังใจที่ทำให้เรามุ่งมั่นและพัฒนาฐานข้อมูลภาษาอีสาน ภาษาของคนบ้านเฮาให้ดียิ่งๆขึ้นไปครับ
และวันนี้เราได้รวบรวมคำศัพท์ยอดนิยมในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 – กันยายน 2561 มาให้ดูกัน เรามาดูกันเลยว่าคำศัพท์ภาษาอีสานคำไหนบ้างที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
- “ซางว่า” แปลว่า : ช่างกล้าพูด พูดออกมาได้อย่างไร ไม่อยากจะเชื่อ มักใช้ในการแสดงความแปลกใจ ในเชิงที่คิดว่าสิ่งนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้
- “สี่” แปลว่า : (กริยา) การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ (นาม) จำนวนสามบวกหนึ่ง เรียก สี่ เรียกชื่อเดือนทางจันรคติว่า เดือน ๔ ตกในระหว่างเดือนมีนาคม.
- “สายแนน” แปลว่า : คู่ครองที่เคยอยู่กินกันมาหลายภพหลายชาติ, บุพเพสันนิวาส, เนื้อคู่ กกแนน ก็เรียก
- “เมือบ้าน” แปลว่า : กลับบ้าน
- “คัก” แปลว่า : สุดยอด , ดีที่สุด ,ได้ดั่งใจ ถนัด แน่ ชัด การเห็นโดยไม่มีเคลือบแคลงสงสัย เรียก เห็นคัก ถูกต้อง แน่นอน จริง เช่น เฮ็ดคักๆ เด้อ คึดคักๆ เว้าคักๆ.
- “หนหวย” แปลว่า : รำคาญ, ไม่สบายใจ, หงุดหงิด, กังวลใจ
- “เคียว” แปลว่า : แรด,ร่าน,ดอกทอง ,คนคึกคะนองเรียก คนเคียว อย่างว่า เถ้าคันเคียวสามซาวว่าหนุ่ม (กาพย์ปู่) หญิงดอกทอง เรียก คนหีเคียว อย่างว่า โต่บ่ช่างว่าไม้บ่เหนียว โตหีเคียวว่ากรรมก่อนกี้ (ภาษิต).
- “บักพากแดก” แปลว่า : คำด่าอย่างแรง/ไอ้โดนห่ากิน
- “บุญผลา” แปลว่า : บุพเพสันนิวาส,พรหมลิขิต
- “ซัง” แปลว่า : เกลียด ชัง
- “สะออน” แปลว่า : เป็นภาษาพูด (ควมเว้า) ของชาวอีสาน มีความหมายว่า ชอบใจ, พอใจ, ติดใจ, ปลื้ม, น่าชมเชย
- “เพิ่น” แปลว่า : คนอื่น, เขา (คนที่กำลังถูกพูดถึง)
- “ตลาด” แปลว่า : ตลาด (เหมือนกับภาษากลาง)
- “ขี้ตั๋ว” แปลว่า : ขี้โกหก โกหก พุดปด พุดเท็จ พูดโกหกหลอกลวง เรียก ตั๋วะ อย่างว่า อย่ามาตั๋วะให้หล้มตกหล่มดินทราย ตั๋วะให้กำดินทรายหว่านลงในน้ำ เฮ็ดให้เฮียมหลงหล้มตกตมทังหล่ม ตั๋วะให้คาดลาดล้มกลางบ้านมื่นชะเล (ผญา).
- “จื่อแหน่ใจ” แปลว่า : รู้จักจำบางสิหัวใจ (พูดกับหัวใจตัวเอง) พูดเมื่อรู้สึกผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า ว่าให้จำความเจ็บปวดเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก
- “หลูโตน” แปลว่า : (กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
- “คึดฮอด” แปลว่า : คิดถึง เรียก คึดฮอด อย่างว่า คึดฮอดน้องนอนกรองน้ำตาหลั่ง คันแม่นพังจั่งส้างซิเพม้างตั้งแต่ดน (กลอน) คึดฮอดน้องยามเมื่อโค็ยแข็ง บาดห่าโค็ยแข็งเซาบ่ให้เอากะได้ (บ.).
- “หมาน” แปลว่า : โชคดี,รวย ได้มาก
- “งึด” แปลว่า : แปลก ประหลาด อัศจรรย์
- “หัวซา” แปลว่า : สนใจ,ใส่ใจ
- “มุนอุ้ยปุ้ย” แปลว่า : แหลกละเอียด
- “ย่าน” แปลว่า : กลัว
- “มาซางว่า” แปลว่า : ช่างกล้าพูด พูดออกมาได้อย่างไร ไม่อยากจะเชื่อ มักใช้ในการแสดงความแปลกใจ ในเชิงที่คิดว่าสิ่งนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้
- “อีหลี” แปลว่า : จริง ๆ, แน่
- “อีหล่า” แปลว่า : คำเรียกลูกสาวคนสุดท้องหรือคนเล็ก
- “จ้วด” แปลว่า : เผาเหล็กให้แดงแล้วจุ่มลงในน้ำดัง จ้วด ถ้าเป็นเหล็กขนาดเล็กเสียงดังจ้อด.
- “ขี้เดียด” แปลว่า : ขยะแขยง,รังเกียจ ,ไม่ชอบ
- “คักน้อ” แปลว่า : ดูดี แบบเว่อๆ, เหมือนชมว่าดีแบบประชดประชันนิดๆ
- “จ๊วด” แปลว่า : เสียงของบั้งไฟ เวลาจุดบั้งไฟ ตอนบั้งไฟขึ้นจะมีเสียงดัง “จ๊วด” จึงมีการเลียนแบบเสียงจากธรรมมาใช้ในภาษาอีสาน ใช้กับเรื่องทั่วๆไป อะไรที่กำลังจะเริ่มสนุก กำลังพุ่งขึ้น กำลังจะมันส์ สามารถใช้คำว่า “จ๊วด” มาประกอบเพื่อเพิ่มอรรถรส
- “กะด้อกะเดี่ย” แปลว่า : อะไรจะขนาดนั้น,มากมาย , มากเกินไป, ออกหน้าออกตา
- “ฮิ” แปลว่า : เรื่องมาก , ตำหนิ , ช่างเลือกมาก, ไม่ถูกใจ, ไม่พอใจ, ไม่ชอบ
- “บืน” แปลว่า : เสือกไป ไสไป คืบไป ใช้อกเสือกไป เรียก บืน เช่น งูบืน ปลาบืน อย่างว่า มันหากเหลือแฮงแล้วปลาบืนยามเดือนสี่ เงี่ยงกะหลุ้ยคุยกะล้มปานนั้นว่าบ่บืน (กลอน).
- “แข่ว” แปลว่า : ฟัน กระดูกเป็นซี่ ๆ อยู่ในปากสำหรับกัด ฉีกเคี้ยวอาหาร, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฟันเลื่อย เรียก แข่วเลื่อย ฟันจักร เรียก แข่วจักร
- “แนน” แปลว่า : คู่ครอง อย่างว่า อันที่แนนปุนป้องบูฮาน นำน้าวจ่อง (กา) ฮู้ว่าแนนนำเกี้ยวกันลงมาเกิดนั้นรือ (สังข์) ดูแนนน้องยังสมสวรรค์มิ่ง แนนเพื่อนบ้างหลายแท้โทษมี (ฮุ่ง).
- “สูน” แปลว่า : โกรธ
- “งอย” แปลว่า : ลักษณะการนั่ง หรือ เกาะอยู่บนที่สูง